กฎและข้อบังคับของสมาคมฯ
สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อารัมภบท
คณะวิทยาศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดว่าเป็นคณะวิชาที่เก่าแก่มากที่สุดคณะหนึ่งซึ่งได้พัฒนามาจากแผนกวิทยาศาสตร์ที่สอนอยู่ในโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453) ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2459)
การเรียนการสอนในสมัยนั้นจําแนกออกเป็นแผนกวิชาที่สําคัญ ๆ 4 แผนกด้วยกันคือ แผนกรัฐประศาสน์ แผนกยันตรกรรม แผนกฝึกหั ดครูและแผนกวิทยาศาสตร์ และแล้วในปี 2461 แผนกฝึกหัดครูและแผนกวิทยาศาสตร์ได้รวมกันตั้งขึ้นเป็นคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ การเรียน การสอนได้แยกออกเป็นแผนกวิชาต่างๆ มากขึ้น จนในที่สุดได้แยกเป็นคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ออกจากกัน เมื่อพ.ศ. 2486 อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าคณะวิทยาศาสตร์ได้รับภาระหน้าที่ในการผลิตบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ออกไปรับใช้ประเทศชาติและสังคมมาเป็นเวลาอันยาวนาน ผลิตบัณฑิตออกไปแล้วเป็นจํานวนหลายพันคน นิสิตเก่าเหล่านั้นได้มีโอกาสพบปะกันบ้าง สังสรรค์กันบ้างตามสมควร โดยจัดเป็นกลุ่ม เป็น
รุ่นตามแต่จะรวมกันได้และในที่สุดได้เกิดเป็นชมรมวิทยาศาสตร์ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2503จนถึงปัจจุบันนี้
บัดนี้คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เจริญและมีการพัฒนาไปจากเดิมมาก ในแต่ละ ปีจะมีนิสิตผ่านเข้ามาศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์เป็นจํานวนพัน ความรู้จักกัน ช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน ความ เข้าใจดีต่อกัน ความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างนิสิตปัจจุบัน , นิสิตเก่าและคณะวิทยาศาสตร์ดู จะลดน้อยลงตามลําดับ ด้วยเหตุนี้และเหตุอื่นอีกหลาย ๆ ประการทําให้นิสิตเก่า คณาจารย์และนิสิตปัจจุบัน มีความเห็นสอดคล้องกันว่าถ้ามีสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ขึ้นแล้ว จะมีส่วนช่วยผลักดันและสร้างสรรค์ ให้คณะวิทยาศาสตร์ของเรายิ่งใหญ่ขึ้น ปัญหาต่าง ๆ ที่เคยประสบอยู่อาจจะถูกขจัดให้หมดไปได้ บัดนี้ “สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ” ได้ถือกําเนิดขึ้นแล้วในปี 2527 ซึ่งเป็นปีที่คณะ วิทยาศาสตร์จัดฉลอง 50 ปีวิทยาศาสตร์บัณฑิตด้วย
ข้อบังคับ
ของ
สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2554
- ข้อ 1 สมาคมนี้ชื่อว่า “สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เรียกโดยย่อว่า ส.น.ว.จ. ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chulalongkorn University Science Alumni ใช้ชื่อย่อว่า CUSA
- ข้อ 2 สำนักงานของสมาคมตั้งอยู่ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
- ข้อ 3 เครื่องหมายของสมาคมเป็นรูป
- ข้อ 4 การตีความ
- “สมาคม” หมายถึง สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- “กรรมการ” หมายถึง กรรมการบริหารสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- “สมาชิก” หมายถึง สมาชิกสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- “คณะวิทยาศาสตร์” หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ข้อ 5
สมาคมมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
- 5.1 เป็นศูนย์กลางสื่อสารกิจการต่างๆ ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ สมาคมและสมาชิก
- 5.2 ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกับนิสิตปัจจุบัน คณาจารย์ และบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์
- 5.3 ส่งเสริมความสามัคคีและสนับสนุนเกื้อกูลกันในหมู่สมาชิก
- 5.4 สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา การวิจัย การเผยแพร่วิชาการทางวิทยาศาสตร์ และวิชาชีพวิทยาศาสตร์
- 5.5 เป็นศูนย์กลางเพื่อจัดหารายได้ สำหรับบำรุงคณะวิทยาศาสตร์
- 5.6 ไม่ดำเนินการใดที่เกี่ยวกับการเมือง
- ข้อ 6 สมาชิกของสมาคม มี 2 ประเภท
- 6.1 สมาชิกสามัญ ได้แก่
- 6.1.1 ผู้ที่เคยเป็นนิสิตและเคยศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ หรือเคยเป็นนิสิตคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 6.1.2 ผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษและข้าราชการของคณะวิทยาศาสตร์
- 6.2 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่
- 6.2.1 ผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์สาขาวิทยาศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 6.2.2 ผู้ที่มีอุปการะคุณต่อคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งคณะกรรมการของสมาคมมีมติเห็นชอบให้เชิญเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
- 6.1 สมาชิกสามัญ ได้แก่
- ข้อ 7 สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- 7.1 การเป็นสมาชิกสามัญจะต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 6.1
- 7.2 การเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์จะต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 6.2
- ข้อ 8 ให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิก ยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคมต่อเจ้าหน้าที่สมาคมฯ สมาชิกภาพตลอดชีพจะเริ่มเมื่อคณะกรรมการบริหารฯ ได้ลงมติรับเข้าเป็นสมาชิก
- ข้อ 9 สมาชิกไม่ต้องเสียค่าบำรุงสมาคม
- ข้อ 10 สมาชิกภาพของสามัญสมาชิกจะสิ้นสุดลงเมื่อ
- 10.1 ตาย
- 10.2 ลาออก
- 10.3 มีความประพฤติไม่เรียบร้อยเป็นที่รังเกียจในวงสังคม
- 10.4 ละเมิดระเบียบหรือข้อบังคับของสมาคมโดยเจตนาแม้ได้รับการตักเตือนแล้ว
- 10.5 คณะกรรมการบริหารสมาคมพิจารณาลงมติให้สิ้นสุดสมาชิกภาพ
- ข้อ 11 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
- 11.1 มีสิทธิเข้าใช้สถานที่ของสมาคมในขอบเขตที่กำหนดให้
- 11.2 มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมต่อคณะกรรมการ
- 11.3 มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่างๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
- 11.4 มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม
- 11.5 สมาชิกสามัญมีสิทธิในการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้ง หรือได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสมาคมและมีสิทธิออกเสียงลงมติต่างๆ ในที่ประชุมได้คนละ 1 คะแนนเสียง
- 11.6 มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม
- 11.7 มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันโดยสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า 50 คน ร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้
- 11.8 มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติและข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด
- 11.9 มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม
- 11.10 มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่างๆ ของสมาคม
- 11.11 มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
- 11.12 มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
- ข้อ 12
คณะกรรมการบริหารสมาคมประกอบด้วย นายกสมาคม, อุปนายกสมาคม, เลขาธิการ, เหรัญญิก, นายทะเบียน, ปฏิคม, สวัสดิการและหาทุน, สาราณียกร, ประชาสัมพันธ์, กีฬา, และกรรมการกลาง หรือกรรมการตำแหน่งอื่นๆ ที่จำเป็นไม่เกิน 15 คน โดยให้ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีเลือกนายกสมาคมและคณะกรรมการ รวมกัน 9 คน และให้นายกเลือกอีก 6 คนจากสมาชิกสามัญ
- ข้อ 13
คณะกรรมการบริหารสมาคมอยู่ในตำแหน่งวาระ 2 ปี เริ่มต้นแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ และเมื่อบริหารงานครบวาระ 2 ปีแล้ว กำหนดให้มีการเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมของปีที่ครบวาระเป็นต้นไป ในกรณีที่กรรมการว่างลงก่อนครบวาระ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกสามัญเข้าดำรงตำแหน่งแทน และให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากับกำหนดเวลาของผู้ที่ตนแทน หรือไม่แต่งตั้งผู้ใดเข้าดำรงตำแหน่งแทนก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
- ข้อ 14
เมื่อมีการเลือกตั้งกรรมการบริหารชุดใหม่ให้คณะกรรมการบริหารชุดเก่ารักษาการต่อไปจนกว่าจะส่งมอบงานให้คณะกรรมการชุดใหม่เสร็จ ซึ่งต้องส่งมอบงานแต่ละหน้าที่และหลักฐานบัญชีการเงิน และทรัพย์สินอื่นๆ ให้เสร็จภายใน 30 วัน หลังจากได้รับการจดทะเบียนจากนายทะเบียน
- ข้อ 15
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร
- 15.1
นายกสมาคมมีหน้าที่บริหารกิจการของสมาคมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นโยบายข้อบังคับและระเบียบของสมาคม เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร เป็นผู้รักษาระเบียบการประชุม และดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามข้อบังคับ
- 15.2
อุปนายก มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายกสมาคมในกิจการต่างๆ ทั่วไปและรักษาการแทนนายกสมาคมในเมื่อนายกสมาคมไม่อาจจะปฏิบัติการได้
- 15.3
เลขาธิการ มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามนโยบายซึ่งนายกสมาคมมอบหมายทำหน้าที่ด้านธุรการ เช่น ทำระเบียบวาระและรายงานการประชุม ร่างโต้ตอบและเก็บรักษาหนังสือหลักฐานของสมาคม ทำทะเบียนเก็บรักษาทรัพย์ของสมาคม ตลอดจนงานอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในหน้าที่ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
- 15.4
เหรัญญิก มีหน้าที่รับจ่าย เก็บรักษาเงินทำบัญชีและรายงานงบการเงินของสมาคมให้สมาชิกและคณะกรรมการทราบตามเวลาที่กำหนด
- 15.5
นายทะเบียน มีหน้าที่ทำและรักษาทะเบียนสมาชิกกับออกบัตรสมาชิกติดตามทวงถามและเรียกเงินค่าบำรุงจากสมาชิก
- 15.6
ปฏิคม มีหน้าที่ต้อนรับ และอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกหรือผู้เยี่ยมเยียนสมาคม รวมทั้งควบคุมดูแลรักษาสถานที่และพัสดุ ครุภัณฑ์ของสมาคม
- 15.7
สวัสดิการและหาทุน มีหน้าที่จัดกิจกรรมหรือดำเนินงานต่างๆ เพื่อเป็นสวัสดิการหรือเพื่อประโยชน์แก่สมาชิกตลอดจนจัดหาทุนเพื่อบำรุงสมาคมและคณะวิทยาศาสตร์
- 15.8
สาราณียกร มีหน้าที่จัดทำบรรดาเอกสารต่างๆ เช่น ข่าวสาร แถลงการณ์ จัดทำวารสาร เผยแพร่กิจการของสมาคมฯ
- 15.9
ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการของสมาคมตลอดจนติดต่อเชื่อมโยงกิจการของสมาคมกับสมาชิก หรือผู้เกี่ยวข้องให้บังเกิดผลดีแก่สมาคม
- 15.10
กรรมการกลางและกรรมการตำแหน่งอื่นๆ มีหน้าที่ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้น
- 15.1
- ข้อ 16
กรรมการอาจจะพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุดังต่อไปนี้คือ
- 16.1 ตาย
- 16.2 ลาออก
- 16.3 ขาดจากสมาชิกภาพ
- 16.1
- ข้อ 17
กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ และให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะกรรมการมีมติให้ลาออก
- ข้อ 18
กรรมการอาจจะพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุดังต่อไปนี้คือ
- 18.1 มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้
- 18.2 มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม
- 18.3 มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการได้แต่กรรมการที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการจะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการ
- 18.4 มีอำนาจที่จะเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ
- 18.5 มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่นๆ ที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
- 18.6 มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนมีอำนาจอื่นๆ ที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
- 18.7 มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมดรวมทั้งการเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม
- 18.8 มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงินทรัพย์สินและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถจะให้สมาชิกตรวจดูได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
- 18.9 จัดทำบันทึกการประชุมต่างๆ ของสมาคม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิกได้รับทราบตามความเหมาะสม
- 18.10 จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่า 50 คน ได้ร่วมกันลงชื่อร้องขอให้สมาคมฯ จัดประชุมใหญ่วิสามัญ ซึ่งจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
- 18.11 มีหน้าที่อื่นๆ ตามที่ข้อบังคับนี้ได้กำหนดไว้
- 18.1
- ข้อ 19
คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม
- ข้อ 20
การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดจึงถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการหากข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
- ข้อ 21
ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคม และอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้น เลือกตั้งกันเองเพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น
- ข้อ 22 การประชุมใหญ่ของสมาคมมี 2 ชนิดคือ
- 22.1 ประชุมใหญ่สามัญประจำปี
- 22.2 ประชุมใหญ่วิสามัญ
- ข้อ 23
สมาคมต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่ 1 มกราคมเป็นต้นไป- ข้อ 24
การประชุมใหญ่วิสามัญอาจจะมีขึ้นได้ ก็โดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นสมควรจัดให้มีขึ้น หรือเกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า 50 คน ร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดให้มีขึ้น- ข้อ 25
สมาคมจะต้องส่งหนังสือแจ้งวัน เวลา สถานที่และระเบียบวาระการประชุมใหญ่ ให้สมาชิกทราบก่อนวันประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่า 7 วัน- ข้อ 26
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้- 26.1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
- 26.2 รับรองรายงานการประชุมครั้งก่อน
- 26.3 แถลงกิจการและการดำเนินงานของสมาคมฯ ในรอบปีที่ผ่านมา
- 26.4 แถลงบัญชีรายรับรายจ่ายและบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับรอง
- 26.5 เลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ เมื่อครบกำหนดตามวาระ
- 26.6 แต่งตั้งผู้สอบบัญชี และกำหนดค่าตอบแทน
- 26.7 เรื่องอื่น ๆ ถ้ามี
- ข้อ 27
ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือการประชุมใหญ่วิสามัญจะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 50 คน จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุม ยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้คณะกรรมการสมาคมเรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งโดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายใน 14 วัน นับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก ยกเว้นถ้าเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญที่เกิดขึ้นจากการร้องขอของสมาชิก ให้ถือว่าการประชุมเป็นอันยกเลิก สำหรับการประชุมในครั้งหลังนี้ ถ้ามีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนเท่าใด ก็ให้ถือว่าครับองค์ประชุม- ข้อ 28
การลงมติต่างๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด- ข้อ 29
ในการประชุมใหญ่ของสมาคม ถ้านายกสมาคมและอุปนายกไม่มาร่วมประชุมหรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่ง ให้ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น- ข้อ 30 การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ถ้ามีเงินสดของสมาคม ให้นำฝากไว้ในธนาคาร
- ข้อ 31 การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสมาคม จะต้องมีลายมือชื่อของนายกสมาคมหรืออุปนายก หรือเลขาธิการลงนามร่วมกับเหรัญญิก พร้อมกับประทับตราของสมาคม จึงจะถือว่าใช้ได้
- ข้อ 32 ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
- ข้อ 33 ให้เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน 10,000 บาท(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันทีที่โอกาสอำนวย
- ข้อ 34 เหรัญญิกจะต้องทำบัญชีรายรับรายจ่าย และบัญชีงบดุลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และการรับหรือจ่ายเงินทุกครั้งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือของนายกสมาคม หรืออุปนายกร่วมกับเหรัญญิกหรือเลขาธิการ พร้อมประท้บตราของสมาคมทุกครั้ง
- ข้อ 35 ผู้สอบบัญชี จะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต
- ข้อ 36 ในการประชุมใหญ่ของสมาคม ถ้านายกสมาคมและอุปนายกไม่มาร่วมประชุมหรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่ง ให้ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น
- ข้อ 37 ผู้สอบบัญชีมีอำนาจหน้าที่จะเรียกเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการ และสามารถจะเรียกกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของสมาคมได้ โดยคณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้ตรวจสอบบัญชีเมื่อได้รับการร้องขอ
- ข้อ 38 ข้อบังคับของสมาคมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ก็โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และองค์ประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 50 คน มติของที่ประชุมใหญ่ในการให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุม
- ข้อ 39 การเลิกสมาคมจะเลิกได้ก็โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม (ยกเว้นเป็นการเลิกเพราะเหตุของกฎหมาย) ซึ่งต้องแจ้งไว้ในระเบียบวาระการประชุมด้วย และองค์ประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด มติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้เลิกสมาคม จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิกที่เข้า ประชุมทั้งหมด
- ข้อ 40
เมื่อสมาคมต้องเลิก ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้ชำระบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตกเป็นทรัพย์สินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมอบผลประโยชน์ทั้งหมดให้คณะวิทยาศาสตร์